เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 9.ตัณหาสูตร

7. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
8. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
9. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
10. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
11. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
12. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
13. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
14. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
15. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
16. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
17. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
18. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี

นี้คือตัณหาวิจริต 18 ประการอาศัยขันธปัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต 18 ประการอาศัยขันธปัญจกภายใน ตัณหาวิจริต 18 ประการ
อาศัยขันธปัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้ รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริต 36 ประการ
ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต 36 ประการ อนาคต 36 ประการ ปัจจุบัน
36 ประการ รวมเป็นตัณหาวิจริต1 108 ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ไป ซ่านไป
เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อโลกนี้ ซึ่งยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย
อันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย
ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้”

ตัณหาสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 10.เปมสูตร

10. เปมสูตร
ว่าด้วยความรักและความชัง

[200] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ย่อมเกิด
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ความรักเกิดเพราะความรัก 2. ความชังเกิดเพราะความรัก
3. ความรักเกิดเพราะความชัง 4. ความชังเกิดเพราะความชัง

ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ของเราด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น
ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’ เขาจึงเกิด
ความชังในคนเหล่านั้น ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นๆ ก็ประพฤติต่อบุคคลที่ชังนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’
เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :314 }