เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 6.สาฬหสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการข้ามโอฆะ1เพราะเหตุ
2 อย่าง คือ (1) เพราะสีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) เป็นเหตุ (2) เพราะการ
เกลียดตบะ2 เป็นเหตุ ส่วนในธรรมวินัยนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สาฬหะ เรากล่าวสีลวิสุทธิแลว่า ‘เป็นองค์แห่ง
สมณธรรมอย่างหนึ่ง’ สมณพราหมณ์เหล่าใดถือการเกลียดตบะเป็นวาทะ3 ถือการ
เกลียดตบะเป็นสาระ ยึดมั่นการเกลียดตบะอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่สามารถ
ข้ามโอฆะได้ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ4 เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม5
เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ พึงถือผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาพบต้นรัง
ใหญ่ในป่านั้นลำต้นตรง ยังเป็นไม้อ่อน6 ไม่มีที่ตำหนิ เขาพึงตัดที่โคน ตัดที่ปลาย
ครั้นแล้วลิดกิ่งและใบเรียบร้อยดี ถากด้วยผึ่ง เกลาด้วยมีด ขุดเป็นร่อง ขัดด้วย
ลูกหินแล้วปล่อยลงแม่น้ำ
สาฬหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะข้ามแม่น้ำนั้นไปได้หรือไม่”
เจ้าสาฬหลิจฉวีกราบทูลว่า “ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
เจ้าสาฬหลิจฉวีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่ง
เกลี้ยงเกลาในภายนอก แต่ภายในไม่เรียบร้อย บุรุษนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ไม้รังจะ
ต้องจมและบุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 6.สาฬหสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สาฬหะ ข้อนี้ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่าใดถือ
การเกลียดตบะเป็นวาทะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ยึดมั่นการเกลียดตบะอยู่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่สามารถข้ามโอฆะได้ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมี
ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ควรเพื่อ
ญาณทัสสนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ฉันนั้นเหมือนกัน
ส่วนพราหมณ์เหล่าใดไม่ถือการเกลียดตบะเป็นวาทะ ไม่ถือการเกลียดตบะ
เป็นสาระ ไม่ยึดมั่นการเกลียดตบะอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นสามารถข้ามโอฆะได้
อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มีอาชีพบริสุทธิ์ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม
เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ พึงถือผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาพบต้นรัง
ใหญ่ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังเป็นไม้อ่อน ไม่มีที่ตำหนิ เขาพึงตัดที่โคน ตัดที่ปลาย
ครั้นแล้วลิดกิ่งและใบเรียบร้อยดี ถากด้วยผึ่ง เกลาด้วยมีด ขีดแต่งด้วยสิ่ว ทำภายใน
ให้เรียบร้อย ขุดเป็นร่อง ขัดด้วยลูกหิน ทำให้เป็นเรือ ติดกรรเชียงและหางเสือแล้ว
ปล่อยลงแม่น้ำ
สาฬหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะข้ามแม่น้ำได้หรือไม่”
เจ้าสาฬหลิจฉวีกราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
เจ้าสาฬหลิจฉวีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่ง
เกลี้ยงเกลาดีในภายนอก และภายในก็เรียบร้อยดี ทำเป็นเรือ ติดกรรเชียงและ
หางเสือ บุรุษนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า เรือจักไม่จม บุรุษนั้นจักถึงฝั่งได้โดยสวัสดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สาฬหะ ข้อนี้ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่าใดไม่ถือ
การเกลียดตบะเป็นวาทะ ไม่ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ไม่ยึดมั่นการเกลียดตบะ
อยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นสามารถข้ามโอฆะได้ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :298 }