เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 5.วัปปสูตร

ข้อปฏิบัติที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกมาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ท่านย่อมเห็นฐานะ
ที่เป็นเหตุให้อาสวะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาซึ่งจะพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น
หรือไม่”
เจ้าวัปปศากยะกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วัปปะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ อาสวะ
เหล่าใดที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย เมื่อ
บุคคลเว้นขาดจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน
ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้คือ
ข้อปฎิบัติที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกมาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ท่านย่อมเห็นฐานะ
อันเป็นเหตุให้อาสวะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาซึ่งจะพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น
หรือไม่”
เจ้าวัปปศากยะกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วัปปะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ อาสวะ
เหล่าใดที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
เว้นขาดจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มี
แก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้คือข้อ
ปฏิบัติที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ท่านย่อมเห็นฐานะอัน
เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาซึ่งจะพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
นั้นหรือไม่”
เจ้าวัปปศากยะกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วัปปะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ อาสวะ
เหล่าใดที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาสำรอกไป
วิชชาเกิดขึ้น อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อนย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรม
ใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้คือข้อปฏิบัติที่ทำให้กิเลสสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :294 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 5.วัปปสูตร

ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ท่านย่อมเห็นฐานะอันเป็นเหตุให้อาสวะที่
เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่”
เจ้าวัปปศากยะกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วัปปะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ 6 ประการ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่ดีใจ1
ไม่เสียใจ2 มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด3 ย่อม
รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ ย่อมรู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว เวทนาทั้งปวงที่
ไม่น่าเพลิดเพลินไม่น่ายินดีในโลกนี้จักสงบเย็นลง’
วัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา เขาตัด
ต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้วขุดคุ้ยเอารากขึ้น ตัดไม่ให้เหลือแม้ขนาดเท่าต้นแฝก เขา
ตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนๆ ทำให้เป็นซีก ๆ แล้วผึ่งลมและแดด ครั้นผึ่งลมและแดด
แห้งแล้ว เผาทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในแม่น้ำอันมีกระแสเชี่ยว
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ที่ถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรม
เป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ 6 ประการ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ