เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค 1.โสตานุคตสูตร

2. ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้นเป็นภาวะเข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ เธอหลงลืมสติ เมื่อตายไป จะไปเกิดในหมู่เทพ
หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มี
ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทาง
จิต แสดงธรรมแก่หมู่เทพ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘นี้คือธรรม
วินัยที่เราเคยประพฤติพรหมจรรย์’ สติเกิดขึ้นช้า ต่อมา เธอ
ระลึกได้ จึงบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ จึงบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาดในเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้
ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า ‘ใช่เสียง
กลองหรือไม่หนอ’ ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า ‘เป็นเสียง
กลองแน่นอน’ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2
แห่งธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
3. ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้นเป็นภาวะเข้าถึงโสตประสาท คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ เธอหลงลืมสติ เมื่อตายไป จะไปเกิดในหมู่เทพ
หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความ
สุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางจิตก็ไม่
ได้แสดงธรรมแก่หมู่เทพ แต่เทพบุตรแสดงธรรมในหมู่เทพ เธอมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘นี้คือธรรมวินัยที่เราเคยประพฤติพรหมจรรย์’
สติเกิดขึ้นช้า ต่อมา เธอระลึกได้ จึงบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ จึงบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล พึงได้ยิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :277 }