เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 10.อุโปสถสูตร

9. สัจฉิกรณียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

[189] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการนี้
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการ1 อะไรบ้าง คือ
1. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย2 2. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ3
3. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ4 4. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา5
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ 8 ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ เป็นอย่างไร
คือ ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ เป็นอย่างไร
คือ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา6
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการนี้แล

สัจฉิกรณียสูตรที่ 9 จบ

10. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยทรงสรรเสริญภิกษุในวันอุโบสถ

[190] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 10.อุโปสถสูตร

แวดล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถนั้น ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบ รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เงียบ ปราศจากเสียงสนทนา บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ1
ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเหมือนบริษัทหาได้ยากแม้เพื่อจะเห็นในโลก ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้ก็เป็นเหมือนบริษัทผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควร
แก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้ก็เป็นเหมือนบริษัทที่เขาถวายของน้อยก็มีผลมาก ที่เขาถวายของมากก็มี
ผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้ก็เหมือนบริษัทที่แม้จะต้องเดินทางไปดูเป็น
ระยะทางหลายโยชน์ต้องมีเสบียงทางไปด้วยก็ควรไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้เห็นปานนี้ คือ
ในภิกษุสงฆ์นี้
1. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดาอยู่2
2. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นพรหมอยู่3
3. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอเนญชาอยู่4
4. มีภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นอริยะอยู่
ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะปีติจาง
คลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่5 ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นเทวดา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลายผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไร