เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 8.อุปกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปกะ ถ้าบุคคลกล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าว
ติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น ย่อมถูกติเตียน
กล่าวโทษ ท่านนั่นแล กล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อท่านกล่าวติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่ให้
กุศลกรรมเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้กุศลกรรมเกิดขึ้น ย่อมถูกติเตียนกล่าวโทษ”
อุปกมัณฑิกาบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลพึงจับปลาที่พอ
ผุดขึ้นเท่านั้นด้วยแหใหญ่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พอกล่าวขึ้น
เท่านั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงจับด้วยบ่วงคือวาทะอันใหญ่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปกะ เราบัญญัติไว้ว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ บท พยัญชนะ
และธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า ‘นี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้’
อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า ‘อกุศลนี้นั่นแลควรละเสีย’ บท พยัญชนะ และธรรมเทศนา
ของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า ‘อกุศลนี้ควรละเสียแม้เพราะเหตุนี้’
อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า ‘นี้เป็นกุศล’ บท พยัญชนะ และธรรมเทศนาของตถาคต
ในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า ‘นี้เป็นกุศลแม้เพราะเหตุนี้’ อนึ่ง เราบัญญัติไว้ว่า ‘กุศลนี้
นั่นแลควรเจริญ’ บท พยัญชนะ และธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้นประมาณมิได้ว่า
‘กุศลนี้ควรเจริญแม้เพราะเหตุนี้”
ลำดับนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
จากที่นั่งถวายอภิวาททำประทักษิณ1แล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กราบทูลการสนทนากับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแด่พระเจ้า
แผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ครั้นเมื่ออุปกมัณฑิกาบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตรกริ้ว ไม่ทรงพอพระทัย ได้ตรัสกับอุปกมัณฑิกาบุตรว่า “เจ้าเด็ก
ลูกชาวนาเกลือนี้อวดดี ปากกล้า บังอาจ จักสำคัญพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่าควรรุกราน เจ้าอุปกะจงไปเสีย จงพินาศไป อย่ามาให้เรา
เห็นหน้าอีก”

อุปกสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 10.อุโปสถสูตร

9. สัจฉิกรณียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

[189] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการนี้
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการ1 อะไรบ้าง คือ
1. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย2 2. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ3
3. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ4 4. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา5
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ 8 ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ เป็นอย่างไร
คือ ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ เป็นอย่างไร
คือ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา6
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 4 ประการนี้แล

สัจฉิกรณียสูตรที่ 9 จบ

10. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยทรงสรรเสริญภิกษุในวันอุโบสถ

[190] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์