เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 7.วัสสการสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษ1จะพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็น
อสัตบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
วัสสการพราหมณ์ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษจะพึงรู้จัก
สัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็น
เรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษ2พึงรู้จักสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ ข้อที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่
เป็นไปได้”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้”
วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ‘ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้’
ข้าแต่ท่านพระโคดม สมัยหนึ่ง ในบริษัทของโตเทยยพราหมณ์ พวกบริษัท
กล่าวติเตียนผู้อื่นว่า ‘พระเจ้าเอเฬยยะนี้ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร ทรงเป็น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 7.วัสสการสูตร

ผู้โง่เขลา และทรงทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ทรงไหว้ ทรงลุกรับ ทรง
ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร แม้พวกข้าราชบริพารของพระเจ้า
เอเฬยยะนี้ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ และอัคคิเวสสะ
ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตรเป็นผู้โง่เขลา ทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ
ไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร ส่วนโตเทยยพราหมณ์
แนะนำบริษัทเหล่านั้นโดยนัยนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
พระเจ้าเอเฬยยะเป็นบัณฑิต ทรงสามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถ
พิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าว
และที่ควรกล่าวอันยิ่ง พวกบริวารรับว่า เป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
เอเฬยยะเป็นบัณฑิต ทรงสามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณา
เห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควร
กล่าวอันยิ่ง’
โตเทยยพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เพราะสมณรามบุตร
เป็นผู้ฉลาดกว่าพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่า ฉะนั้น
พระเจ้าเอเฬยยะจึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตรและทรงทำความเคารพอย่างยิ่งเห็น
ปานนี้ คือ ทรงไหว้ ทรงลุกรับ ทรงทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในสมณรามบุตร
ท่านผู้เจริญทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พวกข้าราชบริพารของพระเจ้า
เอเฬยยะ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ อัคคิเวสสะ เป็นบัณฑิต
สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งใน
กิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควรกล่าวอันยิ่ง พวกบริวาร
รับว่า เป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารของพระเจ้าเอเฬยยะ คือ ยมกะ
โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี คันธัพพะ อัคคิเวสสะ เป็นบัณฑิตสามารถพิจารณา
เห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่
ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรกล่าวและที่ควรกล่าวอันยิ่ง’
โตเทยยพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า ‘เพราะสมณรามบุตรเป็นบัณฑิตยิ่งกว่าพวก
ข้าราชบริพารผู้เป็นบัณฑิตของพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์
ยิ่งกว่าผู้สามารถพิจารณาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งในกิจที่ควรทำและที่ควรทำอันยิ่ง ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :270 }