เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 7.วัสสการสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปอีกว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วย
ปัญญา บุคคลผู้สดับ มีปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างนี้แล”
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็น
บัณทิต มีปัญญามาก เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาใฝ่รู้ของเธอดีนัก ปฏิภาณดีนัก
สอบถามเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกว่าเป็นบัณฑิต
มีปัญญามาก เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็น
บัณฑิต มีปัญญามากหรือ”
ภิกษุกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลในธรรมวินัยนี้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียน 2
ฝ่าย เมื่อคิด ย่อมคิดเกื้อกูลตนเอง เกื้อกูลผู้อื่น เกื้อกูล 2 ฝ่าย และเกื้อกูล
ชาวโลกทั้งหมดทีเดียว บุคคลเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก เป็นอย่างนี้แล”

อุมมัคคสูตรที่ 6 จบ

7. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์

[187] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่ง
แคว้นมคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :268 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 7.วัสสการสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษ1จะพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็น
อสัตบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
วัสสการพราหมณ์ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อสัตบุรุษจะพึงรู้จัก
สัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็น
เรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษ2พึงรู้จักสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ ข้อที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่
เป็นไปได้”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษได้หรือว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ”
“พราหมณ์ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าบุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้”
วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ‘ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
บุคคลนี้เป็นอสัตบุรุษ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้’
ข้าแต่ท่านพระโคดม สมัยหนึ่ง ในบริษัทของโตเทยยพราหมณ์ พวกบริษัท
กล่าวติเตียนผู้อื่นว่า ‘พระเจ้าเอเฬยยะนี้ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร ทรงเป็น