เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 4.อภยสูตร

ก็จักละกามอันเป็นที่รักไป’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก
คร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดาไม่กลัว
ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูก
โรคหนักบางอย่างกระทบเข้าก็ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “กายอันเป็นที่รักจักละเราไป
หนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป” เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน” นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้ทำกรรมหยาบ
ช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่ง
น่ากลัว โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้า
จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ทำความชั่วหนอ ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้
ทำกรรมเศร้าหมอง ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เรา
ตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ทำแต่ความดี
ทำแต่กุศล และทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้นั้น’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตาย
เป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงใจ ถึงความ
ตกลงใจในสัทธรรม โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่าง
กระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่มีความสงสัย ไม่เคลือบแคลงใจถึงความ
ตกลงใจในสัทธรรม’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดาไม่กลัว ไม่ถึงความ
สะดุ้งต่อความตาย
พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา 4 จำพวกนี้แลไม่กลัว ไม่ถึง
ความสะดุ้งต่อความตาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :263 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 5.สมณสัจจสูตร

ชานุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ1 ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อภยสูตรที่ 4 จบ

5. สมณสัจจสูตร
ว่าด้วยสัจจะที่เป็นเหตุให้ไม่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ

[185] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน คือ อันนภาระ วรธร
สกุลุทายี และปริพาชกที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ อาศัยอยู่ที่อารามของปริพาชก ริมฝั่ง
แม่น้ำสัปปินี
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น2 เข้าไปยังอาราม
ของปริพาชก ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี
ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้เป็นอัญเดียรถีย์เหล่านั้นกำลังประชุมสนทนาเรื่องนี้ว่า
“สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้”
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาปริพาชกทั้งหลายถึงที่พำนัก ประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามปริพาชกเหล่านั้นว่า “ปริพาชกทั้งหลาย
บัดนี้พวกท่านนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เรื่องอะไรที่พวกท่านสนทนา
กันค้างไว้”
ปริพาชกทั้งหลายทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ณ สถานที่นี้ พวกข้าพเจ้า
มาชุมนุมกันตั้งประเด็นสนทนากันเรื่องนี้ว่า ‘สัจจะของพราหมณ์เป็นอย่างนี้ สัจจะ
ของพราหมณ์เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ 4 ประการนี้
อันเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม