เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
2.จรวรรค 5. ปัญญัตติสูตร

เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิตที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ปุฬุวก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา (กำหนด
หมายซากศพที่มีสีเขียวคล่ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซาก
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่ขาดจากกันเป็น 2 ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า
พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ภิกษุทั้งหลาย ปธาน 4 ประการนี้แล
ปธาน 4 ประการนี้ คือ
สังวรปธาน ปหานปธาน
ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว
ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้มีความเพียร ถึงความสิ้นทุกข์

สังวรสูตรที่ 4 จบ

5. ปัญญัตติสูตร
ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ

[15] ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ 4 ประการนี้
บัญญัติสิ่งที่เลิศ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :26 }