เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
3.สัญเจตนิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูป
นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่
พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
รูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลาย
ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้า บทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ 4 นี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส 4 ประการนี้แล”

มหาปเทสสูตรที่ 10 จบ
สัญเจตนิยวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. เจตนาสูตร 2. วิภัตติสูตร
3. มหาโกฏฐิตสูตร 4. อานันทสูตร
5. อุปวาณสูตร 6. อายาจนสูตร
7. ราหุลสูตร 8. ชัมพาลีสูตร
9. นิพพานสูตร 10. มหาปเทสสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
4.โยธาชีววรรค 1.โยธาชีวสูตร

4. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ
1. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ

[181] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วย
องค์ 4 ประการย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับได้ว่าเป็น
ราชองครักษ์โดยแท้
องค์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
นักรบอาชีพในโลกนี้
1. ฉลาดในฐานะ 2. ยิงลูกศรได้ไกล
3. ยิงไม่พลาด 4. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วยองค์ 4 ประการนี้แลย่อมคู่ควรแก่
พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การ
ทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ฉลาดในฐานะ 2. ยิงลูกศรได้ไกล
3. ยิงไม่พลาด 4. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุฉลาดในฐานะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ1 สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุชื่อว่าฉลาดในฐานะ เป็นอย่างนี้แล