เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์]
3. สัญเจตนิยวรรค 7. ราหุลสูตร

7. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล

[177] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราหุล ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทั้งภายในและภายนอกเป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในอาโปธาตุ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึง
เห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในเตโชธาตุ
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ
ราหุล เพราะพิจารณาเห็นว่า ในธาตุ 4 นี้ ไม่มีอัตตา ไม่เกี่ยวกับอัตตา
ภิกษุนี้ชื่อว่าตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ”

ราหุลสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
3.สัญเจตนิยวรรค 8.ชัมพาลีสูตร

8. ชัมพาลีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยบ่อน้ำใหญ่

[178] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ1 เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ
จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษใช้มือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเธอพึงเกี่ยวจับติด
กับกิ่งไม้นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอัน
สงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอ
มนสิการถึงสักกายนิโรธ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ไม่น้อมไปใน สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับ
สักกายนิโรธ
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ จิต
ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็น
เช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษใช้
มือที่สะอาดจับกิ่งไม้ มือของเธอไม่พึงเกี่ยวจับติดกิ่งไม้นั้นฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกาย-
นิโรธ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับสักกายนิโรธ