เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
3.สัญเจตนิยวรรค 6. อายาจนสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้ว ก็จัก
มีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะแล้ว
ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา
และจรณะแล้ว ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะแล้ว ปุถุชนก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ
ปุถุชนไม่มีวิชชาและจรณะ ผู้มีอายุ บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความ
เป็นจริง บุคคลผู้ประกอบด้วยจรณะย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตาม
ความเป็นจริงย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

อุปวาณสูตรที่ 5 จบ

6. อายาจนสูตร
ว่าด้วยความปรารถนาโดยชอบ

[176] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด’ สารีบุตร
และโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา
ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็น
เช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด’ ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณา
นี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งภิกษุณีสาวิกาของเรา
อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เรา
เป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด’ จิตตคหบดีและหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งอุบาสกสาวกของเรา
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด’ อุบาสิกา
ขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
อุบาสิกาสาวิกาของเรา”

อายาจนสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์]
3. สัญเจตนิยวรรค 7. ราหุลสูตร

7. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล

[177] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราหุล ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทั้งภายในและภายนอกเป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในอาโปธาตุ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึง
เห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในเตโชธาตุ
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ
ราหุล เพราะพิจารณาเห็นว่า ในธาตุ 4 นี้ ไม่มีอัตตา ไม่เกี่ยวกับอัตตา
ภิกษุนี้ชื่อว่าตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ”

ราหุลสูตรที่ 7 จบ