เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.จรวรรค 4.สังวรสูตร

2. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 ประการนี้แล
พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน
ครอบงำบ่วงมาร1ได้ อันกิเลสไม่อาศัย
ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ
ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว
และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข2แล้ว

ปธานสูตรที่ 3 จบ

4. สังวรสูตร
ว่าด้วยสังวรปธาน

[14] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) 4 ประการนี้
ปธาน 4 ประการ3 อะไรบ้าง คือ
1. สังวรปธาน (เพียรระวัง) 2. ปหานปธาน (เพียรละ)
3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) 4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.จรวรรค 4.สังวรสูตร

สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ
ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุ
ให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก3 อาศัยวิราคะ3 อาศัยนิโรธ3 น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรม