เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 7.มหาโมคคัลลานสูตร

6. อุภยสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง 2 ส่วน

[166] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้
ปฏิปทา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า)
2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว)
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง 2 ส่วน คือ ต่ำเพราะการปฏิบัติลำบากและต่ำเพราะรู้
ได้ช้า ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง 2 ส่วน
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนั้น สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
บรรดาปฏิปทา 4 ประการนั้น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง 2 ส่วน คือ ประณีตเพราะปฏิบัติสะดวกและ
ประณีตเพราะรู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง 2 ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้แล

อุภยสูตรที่ 6 จบ

7. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระมหาโมคคัลลานะหลุดพ้น

[167] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่
อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :233 }