เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 5.ทุติยขมสูตร

ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศล-
ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
สำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า
ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้แล

ปฐมขมสูตรที่ 4 จบ

5. ทุติยขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ 2

[165] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้
ปฏิปทา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อักขมา ปฏิปทา 2. ขมา ปฏิปทา
3. ทมา ปฏิปทา 4. สมา ปฏิปทา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 5.ทุติยขมสูตร

อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้ไม่อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา
ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้แล

ทุติยขมสูตรที่ 5 จบ