เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 3.อสุภสูตร

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล
ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ 5
ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่
อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ 5 ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอ
จึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุ
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
“ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
อยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ 5 ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปป-
พละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :229 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 4. ปฐมขมสูตร

ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ 5 ประการ
นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์
5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ 5 ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ
คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้แล

อสุภสูตรที่ 3 จบ

4. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ 1

[164] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้
ปฏิปทา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
2. ขมา ปฏิปทา1 (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
3. ทมา ปฏิปทา2 (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
4. สมา ปฏิปทา3 (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)
อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้
ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา