เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
2.ปฏิปทาวรรค 2.วิตถารสูตร

ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์1ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ 5
ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา