เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
1.อินทริยวรรค 7.โรคสูตร

3. ในเวลาที่วิวัฏฏกัป1ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวน
เท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ 100 ปี จำนวนเท่านี้ 1,000 ปี
หรือจำนวนเท่านี้ 100,000 ปี
4. ในเวลาที่วิวัฏฏฐายีกัป2ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า
จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ 100 ปี จำนวนเท่านี้ 1,000
ปี หรือจำนวนเท่านี้ 100,000 ปี
ภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป 4 ประการนี้แล

กัปปสูตรที่ 6 จบ

7. โรคสูตร
ว่าด้วยโรค

[157] ภิกษุทั้งหลาย โรค 2 อย่างนี้
โรค 2 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. โรคทางกาย 2. โรคทางใจ
สัตว์ผู้อ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางกายตลอดระยะเวลา 1 ปีบ้าง 2 ปีบ้าง 3 ปี
บ้าง 4 ปีบ้าง 5 ปีบ้าง 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง 40 ปีบ้าง 50 ปีบ้าง
แม้ยิ่งกว่า 100 ปีบ้าง ยังพอมีอยู่ แต่สัตว์ผู้จะกล่าวอ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางใจ
ตลอดระยะเวลาแม้ครู่เดียว หาได้โดยยาก ยกเว้นท่านผู้หมดกิเลสแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต 4 อย่างนี้
โรค 4 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนมักมาก คับแค้น ไม่สันโดษด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
1.อินทริยวรรค 8. ปริหานิสูตร

2. เธอเมื่อมักมาก คับแค้น ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ ย่อมตั้งความปรารถนา
ชั่วเพื่อไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่น เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง
3. เธอวิ่งเต้น ขวนขวาย พยายามเพื่อไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่น เพื่อให้ได้
ลาภสักการะและชื่อเสียง
4. เธอเข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย นั่งกล่าวธรรม กลั้นอุจจาระและ
ปัสสาวะเพื่อให้เขานับถือ
ภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต 4 อย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักไม่
เป็นคนมักมาก ไม่เป็นคนมีจิตคับแค้น ไม่เป็นคนไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ เราจักไม่ตั้งความปรารถนาชั่ว
เพื่อให้คนอื่นรู้จัก เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง เราจักไม่วิ่งเต้น ไม่ขวนขวาย
ไม่พยายามเพื่อให้คนอื่นรู้จัก เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง เราจักอดทนต่อ
ความหนาว ความร้อน ความหิวกระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆจักเป็นผู้
อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด
เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

โรคสูตรที่ 7 จบ

8. ปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุเสื่อม

[158] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม 4
ประการอยู่ในตน พึงแน่ใจได้เลยว่า จะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมี
ธรรม 4 ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความเสื่อม
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :218 }