เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
5.อาภาวรรค 9. สุจริตสูตร

กาล 4 ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียน
ไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ

ทุติยกาลสูตรที่ 7 จบ

8. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต

[148] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต 4 ประการนี้
วจีทุจริต 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มุสาวาท (พูดเท็จ) 2. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
3. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) 4. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต 4 ประการนี้แล

ทุจจริตสูตรที่ 8 จบ

9. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[149] ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต 4 ประการนี้
วจีสุจริต 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัจจวาจา (พูดจริง) 2. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด)
3. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) 4. มันตภาสา1 (พูดด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต 4 ประการนี้แล

สุจริตสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
5.อาภาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

10. สารสูตร
ว่าด้วยสารธรรม

[150] ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสาร) 4 ประการนี้
สารธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สีลสารธรรม1 (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือศีล)
2. สมาธิสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือสมาธิ)
3. ปัญญาสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือปัญญา)
4. วิมุตติสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือวิมุตติ)
ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม 4 ประการนี้แล

สารสูตรที่ 10 จบ
อาภาวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อาภาสูตร 2. ปภาสูตร
3. อาโลกสูตร 4. โอภาสสูตร
5. ปัชโชตสูตร 6. ปฐมกาลสูตร
7. ทุติยกาลสูตร 8. ทุจจริตสูตร
9. สุจริตสูตร 10. สารสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบ