เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 3.ภยวรรค 2.อูมิภยสูตร

กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึง
ปรากฏ” เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า “สิ่งนี้เธอพึงฉัน
สิ่งนี้เธอไม่พึงฉัน สิ่งนี้เธอพึงบริโภค สิ่งนี้เธอไม่พึงบริโภค สิ่งนี้เธอพึงลิ้ม สิ่งนี้
เธอไม่พึงลิ้ม สิ่งนี้เธอพึงดื่ม สิ่งนี้เธอไม่พึงดื่ม สิ่งเป็นกัปปิยะ1เธอพึงฉัน สิ่ง
เป็นอกัปปิยะ2เธอไม่พึงฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะเธอพึงบริโภค สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึง
บริโภค สิ่งเป็นกัปปิยะเธอพึงลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึงลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะเธอ
พึงดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึงดื่ม เธอพึงฉันในเวลา เธอไม่พึงฉันนอกเวลา
เธอพึงบริโภคในเวลา เธอไม่พึงบริโภคนอกเวลา เธอพึงลิ้มในเวลา เธอไม่พึงลิ้มนอก
เวลา เธอพึงดื่มในเวลา เธอไม่พึงดื่มนอกเวลา” เธอคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์ เคี้ยวกินสิ่งที่เราต้องการ ไม่เคี้ยวกินสิ่งที่เราไม่ต้องการ บริโภค
สิ่งที่เราต้องการ ไม่บริโภคสิ่งที่เราไม่ต้องการ ลิ้มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ลิ้มสิ่งที่เรา
ไม่ต้องการ ดื่มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ดื่มสิ่งที่เราไม่ต้องการ กินทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะ
และสิ่งเป็นอกัปปิยะ บริโภคทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ลิ้มทั้งสิ่งเป็น
กัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ดื่มทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ กินทั้งในเวลา
และนอกเวลา บริโภคทั้งในเวลาและนอกเวลา ลิ้มทั้งในเวลาและนอกเวลา ดื่มทั้ง
ในเวลาและนอกเวลา สิ่งใดที่ประณีตไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยวหรือของบริโภคที่คหบดีผู้
มีศรัทธาถวายแก่เราทั้งในเวลาและนอกเวลา ภิกษุเหล่านี้ทำเหมือนปิดปากแม้ใน
สิ่งของเหล่านั้น” เธอขัดเคือง ไม่พอใจ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้เรียก
ว่า ภิกษุผู้กลัวกุมภีลภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า กุมภีลภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง นี้เรียกว่า กุมภีลภัย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 3.ภยวรรค 2.อูมิภยสูตร

อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5 คิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ 5 โภคทรัพย์ในตระกูลของเราก็มี
อยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ทางที่ดี เราบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญ” เธอบอกคืนสิกขากลับมา
เป็นคฤหัสถ์ นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้เป็นชื่อเรียกกามคุณ 5 นี้เรียกว่า อาวัฏฏภัย
สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อยหรือ
ห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า สุสุกาภัย
นี้เป็นชื่อเรียกมาตุคาม นี้เรียกว่า สุสุกาภัย
ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้แลที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงประสบ

อูมิภยสูตรที่ 2 จบ