เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
2.เกสิวรรค 6. อัปปมาทสูตร

บรรดาฐานะ 4 ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขาย่อมไม่ทำ
ฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขา
ย่อมทำฐานะนั้น เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ 4 ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไป
เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาย่อมทำฐานะ
นั้น แต่เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาไม่
ทำฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ 4 ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และเมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง 2 ส่วน คือ รู้ว่าควรทำ
ทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และรู้ว่าควรทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่เมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง 2 ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 4 ประการนี้แล

ฐานสูตรที่ 5 จบ

6. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท

[116] ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ 4 ประการ
ฐานะ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :178 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
2.เกสิวรรค 7.อารักขสูตร

1. จงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละ
กายทุจริตบำเพ็ญกายสุจริตนั้น
2. จงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละวจี
ทุจริตบำเพ็ญวจีสุจริตนั้น
3. จงละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต และอย่าประมาทในการละ
มโนทุจริตบำเพ็ญมโนสุจริตนั้น
4. จงละมิจฉาทิฏฐิ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ และอย่าประมาทในการละ
มิจฉาทิฏฐิบำเพ็ญสัมมาทิฏฐินั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต
บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฏฐิ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ
เมื่อนั้นเธอย่อมไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในวันข้างหน้า

อัปปมาทสูตรที่ 6 จบ

7. อารักขสูตร
ว่าด้วยสติเครื่องรักษา

[117] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจ
โดยสมควรแก่ตนในฐานะ 4 ประการ
ฐานะ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
พึงทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่ตนว่า
1. จิตของเราอย่ากำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
2. จิตของเราอย่าขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความขัดเคือง
3. จิตของเราอย่าหลงในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความหลง
4. จิตของเราอย่ามัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา
ในกาลใด จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัดเพราะ
ปราศจากความกำหนัด จิตไม่ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความขัดเคืองเพราะ
ปราศจากความขัดเคือง จิตไม่หลงในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความหลงเพราะปราศจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :179 }