เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
2.เกสิวรรค 3.ปโตทสูตร

สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเองเลยทีเดียว เขาสลดใจ
สำนึกตัวเพราะเห็นเหตุการณ์นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย
อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็น
แจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรากล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่า
เหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดีที่ถูกแทงด้วยปฏักจึงหวาดหวั่น สำนึก
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญประเภทที่ 2 นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
3. บุรุษอาชาไนยบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลชื่อโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรี
หรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง แต่ญาติหรือสาโลหิต1
ของเขาประสบทุกข์หรือตาย เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะเหตุการณ์
นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง
ปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรา
กล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ที่ถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงหวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ 3 นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
4. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรีหรือ
บุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขา
ก็ไม่ได้ประสบทุกข์หรือตาย แต่ตัวเขาเองประสบเวทนาทั้งหลาย
อันมีในร่างกายเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะประสบทุกข์นั้น
จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2.เกสิวรรค 4.นาคสูตร

ปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรา
กล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ที่ถูกแทงด้วยปฏักจนถึงกระดูกจึงหวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญ บางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ 4 นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปโตทสูตรที่ 3 จบ

4. นาคสูตร
ว่าด้วยองค์ของช้างต้น

[114] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ 4 ประการย่อม
เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
1. เป็นสัตว์เชื่อฟัง 2. เป็นสัตว์ฆ่าได้
3. เป็นสัตว์อดทนได้ 4. เป็นสัตว์ไปได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยหูฟังเหตุการณ์ที่
ควาญช้างให้ทำคือเหตุการณ์ที่เคยทำหรือไม่เคยทำ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง
เป็นอย่างนี้แล
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง
ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ช้าง
ของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :175 }