เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]2.เกสิวรรค 1.เกสิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี เราฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ด้วยวิธีแบบสุภาพบ้าง
วิธีแบบรุนแรงบ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรงบ้าง
บรรดาวิธี 3 อย่างนั้น ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบสุภาพ คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริต
เป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดาเป็น
อย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบรุนแรง คือ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่ง
กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโน-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้ แดนเปรตเป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งกาย-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริต
เป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโน
สุจริตเป็นอย่างนี้ มโนทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดา
เป็นอย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้
แดนเปรตเป็นอย่างนี้”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้
ของพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำกับเขาอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้ของเราฝึกไม่ได้ด้วย
วิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสีย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่
พระผู้มีพระภาคเลย ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘เราก็จะฆ่าเขาเสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :170 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2.เกสิวรรค 2.ชวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ความจริงการฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่ตถาคต
แต่บุรุษผู้ที่ควรฝึกใด ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพ
และแบบรุนแรง ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ต่างกำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เกสี เพราะข้อที่ว่า
ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ต่าง
กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน ดังนี้นั้นถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้ากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ตถาคตกำหนดผู้นั้น
ว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ก็กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควร
ว่ากล่าวสั่งสอน ชื่อว่าเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ขอ
ถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

เกสิสูตรที่ 1 จบ

2. ชวสูตร
ว่าด้วยความว่องไวของม้าต้นและของภิกษุ

[112] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ 4
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความซื่อตรง 2. ความว่องไว
3. ความอดทน 4. ความสงบเสงี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :171 }