เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
5.อสุรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล 4 จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคล
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล และกล่าวสรรเสริญ
ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จักกาลนี้งดงามยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

โปตลิยสูตรที่ 10 จบ
อสุรวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อสุรสูตร 2. ปฐมสมาธิสูตร
3. ทุติยสมาธิสูตร 4. ตติยสมาธิสูตร
5. ฉวาลาตสูตร 6. ราควินยสูตร
7. ขิปปนิสันติสูตร 8. อัตตหิตสูตร
9. สิกขาปทสูตร 10. โปตลิยสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1.วลาหกวรรค 1. ปฐมวลาหกสูตร

3. ตติยปัณณาสก์
1. วลาหกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ
1. ปฐมวลาหกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ 1

[101] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ 4 ชนิดนี้
เมฆ 4 ชนิด1 อะไรบ้าง คือ
1. เมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
2. เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
3. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
4. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ 4 ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ 4 จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวก1ไหนบ้าง คือ
1. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
2. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
3. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
4. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก