เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
5.อสุรวรรค 9.สิกขาปทสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม และมีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งชี้แจงให้เพื่อน
พรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ขิปปนิสันติสูตรที่ 7 จบ

8. อัตตหิตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง

[98] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
2. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
3. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
4. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อัตตหิตสูตรที่ 8 จบ

9. สิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบทเป็นเหตุให้เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล

[99] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :148 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
5.อสุรวรรค 9.สิกขาปทสูตร

1. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
2. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
3. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
4. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม แต่ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :149 }