เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

9. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ

[89] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ
ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มี
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
มีสัมมาญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ
และเธอสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ1


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 10.ขันธสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ (เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สัมมาทิฏฐิสูตรที่ 9 จบ

10. ขันธสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์

[90] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว1
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก2
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม3
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ4
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค ปรารถนาผลที่
ยอดเยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ 5
ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา