เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 8.สังโยชนสูตร

1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ1ในวันข้างหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้
ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป
เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก บุคคลเป็นสมณะ
เหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียด
อ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังโยชนสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

9. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ

[89] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ
ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มี
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
มีสัมมาญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ
และเธอสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ1