เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 7.ปุตตสูตร

บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ1
และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อณโตณตสูตรที่ 6 จบ

7. ปุตตสูตร
ว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่

[87] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว2
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก3(บัวขาว)
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม4(บัวหลวง)
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ดำเนินตามข้อปฏิบัติ ปรารถนาผลที่ยอด
เยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอยู่เหมือนพระราชโอรสองค์พี่ของพระราชามหา-
กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว แม้ยังไม่ได้รับการอภิเษกก็ไม่ทรงหวั่นไหว บุคคล
เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 7.ปุตตสูตร

บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใครขอร้องย่อม
ฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
มาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเธอเป็นกิริยา
ที่น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เธอ เธอมีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน 41 อันมีในจิตยิ่ง2 ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล