เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
3.อปัณณกวรรค 2.สัมมาทิฏฐิสูตร

3. อปัณณกวรรค
หมวดว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด
1. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรเป็นเหตุสิ้นอาสวะ

[71] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ1
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. มีศีล 2. เป็นพหูสูต
3. ปรารภความเพียร 4. มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

ปธานสูตรที่ 1 จบ

2. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุสิ้นอาสวะ

[72] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
4. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
3.อปัณณกวรรค 3.สัปปุริสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

สัมมาทิฏฐิสูตรที่ 2 จบ

3. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[73] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสัตบุรุษในโลกนี้ถึงไม่มีใครถามก็เปิดเผยข้อเสียหายของบุคคลอื่นได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถาม
ก็ตอบปัญหาทันที ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสีย
ของบุคคลอื่นอย่างละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
2. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อดีของบุคคลอื่น ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบ
ปัญหาอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของบุคคลอื่น
ไม่ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
3. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อเสียของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบปัญหา
อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสียของตนไม่ละเอียดเต็มที่
นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรษ’
4. อสัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อดีของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหา
ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของตนอย่าง
ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :118 }