เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 5.รูปสูตร

1. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป
2. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง
3. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ1 เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
4. บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนเหล่าใดถือประมาณในรูป
และชนเหล่าใดคล้อยไปตามเสียง
ชนเหล่านั้นชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ2
ย่อมไม่รู้จักบุคคลนั้น คือ
บุคคลนั้นแลเป็นคนเขลา ไม่รู้คุณภายในของเขา
และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ ย่อมถูกเสียงชักนำไป
อนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้คุณภายใน3
แต่เห็นข้อปฏิบัติภายนอก4
มองแต่ผลในภายนอก5
ย่อมถูกเสียงชักนำไป
ส่วนบุคคลที่รู้คุณภายใน
และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอก
เห็นธรรมปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงชักนำไป

รูปสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 7.อหิราชสูตร

6. สราคสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีราคะ

[66] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวก1ไหนบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มีราคะ 2. บุคคลผู้มีโทสะ
3. บุคคลผู้มีโมหะ 4. บุคคลผู้มีมานะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนทั้งหลายผู้กำหนัดมาก
ในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เพลิดเพลินอย่างยิ่งในรูปที่น่ารัก
เป็นสัตว์ต่ำทราม ถูกโมหะ (ความหลง) หุ้มห่อไว้
ย่อมทำให้เครื่องผูกพันเจริญขึ้น
เป็นคนไม่ฉลาด ทำอกุศลกรรมที่เกิดจากราคะบ้าง
เกิดจากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง
ที่มีแต่ความคับแค้น เพิ่มทุกข์อยู่ร่ำไป
สัตว์ที่ถูกอวิชชา (ความไม่รู้) หุ้มห่อไว้
เป็นผู้มืดบอด ปราศจากจักษุคือปัญญา
มีสภาวะเหมือนธรรมทั้งหลายที่มีอยู่
ย่อมไม่สำคัญว่าเราทั้งหลายก็มีสภาวะเหมือนอย่างนั้น

สราคสูตรที่ 6 จบ

7. อหิราชสูตร
ว่าด้วยตระกูลพญางู

[67] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งในเขตกรุงสาวัตถีถูกงูกัด