เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 2.อานัณยสูตร

อัตถิสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เรามีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า
อัตถิสุข
โภคสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย
ความหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบ
เหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า โภคสุข
อานัณยสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เราไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก’ นี้เรียกว่า อานัณยสุข
อนวัชชสุข เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่
มีโทษ และมโนกรรมที่ไม่มีโทษ เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราประกอบด้วยกายกรรม
ที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ’ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข
คหบดี คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับสุข 4 ประการนี้แลตามกาล ตามสมัย
นรชนผู้จะต้องตาย
รู้สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
ระลึกถึงสุขเกิดจากความมีทรัพย์
เสวยสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 3.พรหมสูตร

ผู้มีปัญญาดีเห็นชัดอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ส่วนทั้ง 2 ว่า
สุขแม้ทั้ง 3 นี้มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16
แห่งสุขเกิดจากความประพฤติอันไม่มีโทษ

อานัณยสูตรที่ 2 จบ

3. พรหมสูตร1
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม

[63] ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
บุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล
คำว่า “พรหม” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพาจารย์” นี้เป็นชื่อ
ของมารดาบิดา คำว่า “บุรพเทพ” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “อาหุไนยบุคคล”
นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา2 ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก
บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการชำระเท้า