เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 1.ปัตตกัมมสูตร

4. อริยสาวกบำเพ็ญทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป1 เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี2
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์3 ไว้ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจาก
ความมัวเมาและความประมาท ผู้ดำรงมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ
ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ดับเย็นสนิท4ด้วยโภคทรัพย์
ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง
อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะ
ที่ 4 ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
คหบดี อริยสาวกนั้นชื่อว่าทำกรรมอันสมควร 4 ประการนี้ด้วยโภคทรัพย์ที่
หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โภคทรัพย์ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะ
กรรมอื่นนอกจากกรรมอันสมควร 4 ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้ เราเรียกว่า
ถึงแล้วโดยไม่ใช่เหตุ ถึงโดยไม่สมควร ใช้สอยตามเหตุอันไม่ควร ส่วนโภคทรัพย์
ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะกรรมอันสมควร 4 ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้
เราเรียกว่า ถึงแล้วโดยเหตุ ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงว่า
‘โภคทรัพย์ทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยงเราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลายเราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไปเราได้ให้แล้ว
และพลีกรรม 5 อย่างเราได้ทำแล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 2.อานัณยสูตร

ท่านผู้มีศีล สำรวมระวัง
ประพฤติพรหมจรรย์เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา
เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว’
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม1
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในชาตินี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

ปัตตกัมมสูตรที่ 1 จบ

2. อานัณยสูตร
ว่าด้วยสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

[62] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี สุข 4 ประการนี้คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม2พึงได้รับตามกาล ตามสมัย
สุข 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)
2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
3. อานัณยสุข3 (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ)