เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 1.ปัตตกัมมสูตร

แล้ว ขอให้เราเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ 4 ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม 4 ประการนี้แลเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก
คหบดี ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม 4 ประการนี้แลที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
4. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มี
จาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :101 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 1.ปัตตกัมมสูตร

ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลมีใจถูกอภิชฌาวิสมโลภะ1ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่
ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและ
ความสุข บุคคลมีใจถูกพยาบาท (ความคิดร้าย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศ
และความสุข มีใจถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่
ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อม
จากยศและความสุข มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ครอบงำอยู่
มีใจถูกวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่
ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
พยาบาทที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
ถีนมิทธะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึง
ละอุทธัจจกุกกุจจะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’
จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย เมื่อนั้นอริย-
สาวกนี้ชื่อว่ามีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มองเห็นแนวทาง สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
คหบดี ธรรม 4 ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม 4 ประการนี้แล ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก