เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 1.ปัตตกัมมสูตร

2. ปัตตกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมอันสมควร
1. ปัตตกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรมอันสมควร

[61] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม 4 ประการนี้เป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราพร้อมกับความชอบธรรม1 นี้เป็นธรรม
ประการที่ 1 ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
2. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรมแล้ว ขอยศ2จงเฟื่องฟู
แก่เราพร้อมด้วยญาติ มิตร สหาย นี้เป็นธรรมประการที่ 2 ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
3. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหายแล้ว ขอเราจงมีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็น
ธรรมประการที่ 3 ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
4. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหาย มีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว หลังจากตาย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
2.ปัตตกัมมวรรค 1.ปัตตกัมมสูตร

แล้ว ขอให้เราเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ 4 ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม 4 ประการนี้แลเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก
คหบดี ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม 4 ประการนี้แลที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
4. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มี
จาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :101 }