เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 5. ปริสวรรค

คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่ไม่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรม
รุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่
รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่ไม่เรียบร้อย กรรมที่ไม่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทที่เรียบร้อย เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่เรียบร้อย กรรมที่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นไป
กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรม
ที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท 2 จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ (8)
[51] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้
บริษัท 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บริษัทที่ไม่เป็นธรรม 2. บริษัทที่เป็นธรรม ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท 2 จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธรรมเป็นเลิศ (9)
[52] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้
บริษัท 2 จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :94 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 5. ปริสวรรค

1. บริษัทที่เป็นอธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม)
2. บริษัทที่เป็นธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรม)
บริษัทที่เป็นอธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์1 ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ประกาศให้ยอมรับกัน และไม่เข้าร่วมการ
ยอมรับ ไม่ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และไม่เข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุ
เหล่านั้นมีความตกลงกันไม่ได้เป็นแรงหนุน มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิด
แต่จะดื้อดึงไม่ยอมรับ กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นอธัมมวาที
บริษัทที่เป็นธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ประกาศให้ยอมรับกัน และเข้าร่วมการยอมรับ
ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และเข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุเหล่านั้นมีการตกลง
กันได้เป็นแรงหนุน มีการเพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะยอมรับ ไม่กล่าวด้วย
ความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่เป็นธัมมวาที
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 2 จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท 2 จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธัมมวาทีเป็นเลิศ (10)

ปริสวรรคที่ 5 จบ