เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
สารีบุตร เทวดาจำนวนมากพร้อมใจกันเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ ปราสาทของวิสาขามิคาร-
มาตา ในบุพพาราม ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ภายนอกให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัท
ต่างร่าเริง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่เถิด” เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็ก
แหลมจรดลงได้ จำนวน 10 องค์บ้าง 20 องค์บ้าง 30 องค์บ้าง 40 องค์บ้าง
50 องค์บ้าง 60 องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกัน
เธออาจมีความคิดอย่างนี้ว่า “จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้น
ที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลมจรดลงได้จำนวน 10 องค์บ้าง 20 องค์บ้าง
30 องค์บ้าง 40 องค์บ้าง 50 องค์บ้าง 60 องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่าง
นั้น เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นได้เจริญในภพนั้นแน่นอน” ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่าง
นั้น จิตซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในพื้นที่มีขนาดพอที่ปลายเหล็กแหลม
จรดลงได้ จำนวน 10 องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดเสียดกันอย่างนั้น เป็นจิตอัน
เทวดาเหล่านั้นได้เจริญในธรรมวินัยนี้นั่นเอง
เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจ
สงบ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย
เราจักนำกายและจิตที่สงบเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ได้เสียโอกาส
แล้ว (5)

เหตุปัจจัยแห่งการวิวาท

[38] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ เขตเมืองวรณา
ครั้งนั้น พราหมณ์อารามทัณฑะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :82 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่าน
พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แม้กษัตริย์
ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์ แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับ
คหบดี”
พระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความยึดมั่นกามราคะ ตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกามราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะ
ครอบงำเป็นเหตุ แม้กษัตริย์ก็ขัดแย้งกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ขัดแย้งกับพราหมณ์
แม้คหบดีก็ขัดแย้งกับคหบดี”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมณะขัดแย้ง
กับสมณะ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “เพราะความยึดมั่นทิฏฐิราคะ1 ตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิ
ราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฏฐิราคะครอบงำเป็น
เหตุ แม้สมณะก็ขัดแย้งกับสมณะ”
พราหมณ์อารามทัณฑะถามว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การ
ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม
และการถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตก
อยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม
และการถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลกหรือ”
พระมหากัจจานะตอบว่า “บุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นกามราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจกามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการ
ถูกกามราคะครอบงำนี้ และบุคคลที่ล่วงพ้นความยึดมั่นทิฏฐิราคะ การตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ ความกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ
การถูกทิฏฐิราคะครอบงำนี้ยังมีอยู่ในโลก”