เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

4. สมจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดาพร้อมใจกัน

[33] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและภูมิ
สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภูมิอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษเป็นคนอกตัญญู1 เป็นคนอกตเวที2 ความเป็นคนอกตัญญู
ความเป็นคนอกตเวที อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนอกตัญญู และ
ความเป็นคนอกตเวที ทั้งหมดนี้เป็นภูมิอสัตบุรุษ
ภูมิสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษเป็นคนกตัญญู เป็นคนกตเวที ความเป็นคนกตัญญู ความเป็นคน
กตเวที สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ความเป็นคนกตัญญู และความเป็นคนกตเวที
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (1)

การตอบแทนที่ทำได้ยาก

[34] การทำตอบแทนแก่ท่านทั้งสองเราไม่กล่าวว่าเป็นการทำได้โดยง่าย
ท่านทั้งสองคือใคร คือ มารดาและบิดา ถึงบุตรจะมีอายุ 100 ปี มีชีวิตอยู่ 100 ปี
ประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง ปฏิบัติ
ท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวด3 และแม้
ท่านทั้งสองนั้นจะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะลงบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแล การ
กระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ถึง
บุตรจะสถาปนามารดาและบิดาไว้ในราชสมบัติซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวแห่งแผ่นดินใหญ่ที่มี


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

รัตนะ 7 ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ
ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ
มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน
สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น
ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้
ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน
แก่มารดาและบิดา (2)

วาทะ 2 อย่าง

[35] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ1อย่างไร กล่าวถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่า
ไม่ควรทำ”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ
ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล”