เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล

[19] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล บุคคลสามารถละอกุศลได้ ถ้า
บุคคลไม่สามารถละอกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
ก็เพราะบุคคลสามารถละอกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละ
อกุศล” ถ้าอกุศลนี้ที่บุคคลละได้แล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะอกุศลที่บุคคลละได้แล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ
บำเพ็ญกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะ
บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล”
ถ้ากุศลนี้ที่บุคคลบำเพ็ญแล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะกุศลที่บุคคลบำเพ็ญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” (9)

ธรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ

[20] ธรรม 2 ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี1
2. อรรถที่สืบทอดขยายความไม่ดี2
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม (10)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 3. พาลวรรค

[21] ธรรม 2 ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี
2. อรรถที่สืบทอดขยายความดี
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (11)

อธิกรณวรรคที่ 2 จบ

3. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาล

[22] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล 2 จำพวกนี้
คนพาล 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
2. คนที่ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
คนพาล 2 จำพวกนี้แล
บัณฑิต 2 จำพวกนี้
บัณฑิต 2 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
2. คนที่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ
บัณฑิต 2 จำพวกนี้แล (1)
[23] คน 2 จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
คน 2 จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :73 }