เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

โทษแห่งทุจริต 5 อย่าง

[18] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “อานนท์ กายทุจริต
วจีทุจริตและมโนทุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับโทษอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตที่เรา
กล่าวว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษดังต่อไปนี้ คือ (1)
แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ (2) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ (3) กิตติศัพท์อันชั่ว
ย่อมกระฉ่อนไป (4) หลงลืมสติตาย (5) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่เรากล่าวว่าไม่ควร
ทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับโทษนี้”

อานิสงส์แห่งสุจริต 5 อย่าง

อานนท์ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรทำโดย
ส่วนเดียว
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริตที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะ
ได้รับอานิสงส์อะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (1) แม้
ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ (2) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ (3) กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป (4) ไม่หลงลืมสติตาย (5) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตที่เรากล่าวว่าควรทำโดยส่วนเดียว
บุคคลนั้นจะได้รับอานิสงส์นี้” (8)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :71 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

การละอกุศลและการบำเพ็ญกุศล

[19] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล บุคคลสามารถละอกุศลได้ ถ้า
บุคคลไม่สามารถละอกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
ก็เพราะบุคคลสามารถละอกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละ
อกุศล” ถ้าอกุศลนี้ที่บุคคลละได้แล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล” ก็เพราะอกุศลที่บุคคลละได้แล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงละอกุศล”
เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ถ้าบุคคลไม่สามารถ
บำเพ็ญกุศลนี้ได้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะ
บุคคลสามารถบำเพ็ญกุศลได้ ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล”
ถ้ากุศลนี้ที่บุคคลบำเพ็ญแล้วพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เราไม่พึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” ก็เพราะกุศลที่บุคคลบำเพ็ญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุข ฉะนั้นเราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศล” (9)

ธรรมที่ทำให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ

[20] ธรรม 2 ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี1
2. อรรถที่สืบทอดขยายความไม่ดี2
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม (10)