เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1. กัมมกรณวรรค 5. อุปัญญาตสูตร

5. อุปัญญาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ

[5] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรม 2 ประการ
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความไม่สันโดษเพียงแค่กุศลธรรมทั้งหลาย
2. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึง
บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักไม่หยุดความเพียร” สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม1 เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท แม้ถ้าเธอ
ทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็
ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่
หยุดความเพียร” ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม2อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้งความ
เพียรไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดใน
สรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ
เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

อุปัญญาตสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1. กัมมกรณวรรค 7. กัณหสูตร

6. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์

[6] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจ
2. การเห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่าย
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความพอใจอยู่ย่อมละราคะ โทสะ
และโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า “บุคคลยังละราคะ โทสะ และโมหะไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจาก
ชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับ
แค้นใจ) และย่อมไม่พ้นจากทุกข์”1
บุคคลผู้เห็นธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์โดยความเบื่อหน่ายอยู่ย่อมละราคะ
โทสะ และโมหะได้ เรากล่าวว่า “บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจาก
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 ประการนี้แล

สัญโญชนสูตรที่ 6 จบ

7. กัณหสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ

[7] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ 2 ประการนี้
ธรรมฝ่ายดำ 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) 2. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ 2 ประการนี้แล

กัณหสูตรที่ 7 จบ