เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
6. อเจลกวรรค (3. อิทธิปาทสูตร)

(2. สัมมัปปธานสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 3 ประการนี้
ปฏิปทา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปฏิปทาอย่างหยาบ 2. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
3. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น1เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(3. อิทธิปาทสูตร)

ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน-
สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ
เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
6. อเจลกวรรค (7. มัคคสูตร)

(4. อินทริยสูตร)

เจริญสัทธินทรีย์ เจริญวีริยินทรีย์ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญ
ปัญญินทรีย์ ฯลฯ

(5. พลสูตร)

เจริญสัทธาพละ เจริญวีริยพละ เจริญสติพละ เจริญสมาธิพละ เจริญ
ปัญญาพละ ฯลฯ

(6. สัมโพชฌังคสูตร)

เจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) เจริญวีริย-
สัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) เจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรม
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความวางใจเป็นกลาง) ฯลฯ

(7. มัคคสูตร)

เจริญสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เจริญสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) เจริญสัมมาวาจา
(เจรจาชอบ) เจริญสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) เจริญสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
เจริญสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) เจริญสัมมาสติ(ระลึกชอบ) เจริญสัมมาสมาธิ
(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 3 ประการนี้แล

อเจลกวรรคที่ 6 จบ