เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
6. อเจลกวรรค (1. สติปัฏฐานสูตร)

ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย 7 ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วัน
เดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ 2 วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้เจ็ดวันบ้าง
เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้อยู่
คนเปลือยนั้นกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูก
เดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง1เป็นอาหารบ้าง กินรำ
เป็นอาหารบ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็น
อาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กิน
ผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้า
ห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่ม
หนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน
สัตว์ร้ายบ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบ
การถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ
ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย
ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวมานี้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ

(1. สติปัฏฐานสูตร)

ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 3 ประการนี้แล


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
6. อเจลกวรรค (3. อิทธิปาทสูตร)

(2. สัมมัปปธานสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 3 ประการนี้
ปฏิปทา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปฏิปทาอย่างหยาบ 2. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
3. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น1เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(3. อิทธิปาทสูตร)

ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน-
สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ
เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ