เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 16. เอกธัมมบาลี 3. ตติยวรรค

กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความเห็นดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลีหรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคล
เพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นของหวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
ฉะนั้น (10)

ทุติยวรรค จบ

16. เอกธัมมบาลี
3. ตติยวรรค
หมวดที่ 3

[308] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน
โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล
ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน
หมู่มากออกจากสัทธรรม1 ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม2 บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (1)
[309] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่
มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน
สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (2)


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 16. เอกธัมมบาลี 3. ตติยวรรค

[310] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษ
ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (3)
[311] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้
โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคล
ดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่
ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (4)
[312] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (5)
[313] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (6)
[314] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ทายก(ผู้ให้)พึงรู้จักประมาณ ปฏิคาหก
(ผู้รับ)ไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (7)
[315] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณ ทายกไม่จำต้องรู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (8)
[316] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (9)
[317] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี (10)
[318] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (11)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :41 }