เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค 10. ปุพพัณหสูตร

1. กายกรรมที่ไม่สะอาด 2. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
3. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ
1. กายกรรมที่สะอาด 2. วจีกรรมที่สะอาด
3. มโนกรรมที่สะอาด
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก

จตุตถขตสูตรที่ 8 จบ

9. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้

[155] ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ 3 ประการนี้
การไหว้ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การไหว้ทางกาย 2. การไหว้ทางวาจา
3. การไหว้ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ 3 ประการนี้แล

วันทนาสูตรที่ 9 จบ

10. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น

[156] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วย
กาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ
ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลา
เที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :399 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ใน
เวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา1 วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข
งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค
ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล

ปุพพัณหสูตรที่ 10 จบ
มังคลวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อกุสลสูตร 2. สาวัชชสูตร
3. วิสมสูตร 4. อสุจิสูตร
5. ปฐมขตสูตร 6. ทุติยขตสูตร
7. ตติยขตสูตร 8. จตุตถขตสูตร
9. วันทนาสูตร 10. ปุพพัณหสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์