เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค 8. จตุตถขตสูตร

6. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 2

[152] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ
1. กายกรรมที่มีโทษ 2. วจีกรรมที่มีโทษ
3. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
1 กายกรรมที่ไม่มีโทษ 2. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
3. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ

ทุติยขตสูตรที่ 6 จบ

7. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 3

[153] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ
1. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ 2. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
3. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
1. กายกรรมที่สม่ำเสมอ 2. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
3. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ

ตติยขตสูตรที่ 7 จบ

8. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 4

[154] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :398 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค 10. ปุพพัณหสูตร

1. กายกรรมที่ไม่สะอาด 2. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
3. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ
1. กายกรรมที่สะอาด 2. วจีกรรมที่สะอาด
3. มโนกรรมที่สะอาด
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก

จตุตถขตสูตรที่ 8 จบ

9. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้

[155] ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ 3 ประการนี้
การไหว้ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การไหว้ทางกาย 2. การไหว้ทางวาจา
3. การไหว้ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ 3 ประการนี้แล

วันทนาสูตรที่ 9 จบ

10. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น

[156] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วย
กาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ
ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลา
เที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :399 }