เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 5. เกสกัมพลสูตร

5. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยวาทะของมักขลิเปรียบเหมือนผ้ากัมพลทอด้วยผมคน

[138] ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน บัณฑิตเรียกว่า เลวกว่าผ้า
ที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน ในฤดูหนาวก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน
สีไม่สวย มีกลิ่นเหม็น เนื้อผ้าไม่อ่อนนุ่ม แม้ฉันใด วาทะ1ของเจ้าลัทธิชื่อมักขลิก็
ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก
มักขลิเป็นโมฆบุรุษ(คนไร้ค่า)มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ตลอดอดีตกาลอันยาวนาน แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆ
บุรุษชื่อมักขลิกลับคัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี
ความเพียรไม่มี” แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตก็จัก
ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิกลับ
คัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
แม้เราที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ยังกล่าวเรื่องกรรม กล่าวเรื่อง
กิริยา กล่าวเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิก็คัดค้านแม้เราว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษชื่อมักขลิเป็นเหมือนไซดักมนุษย์ เกิดขึ้นมาในโลก
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของสัตว์เป็นจำนวนมาก
เปรียบเหมือนบุคคลพึงวางไซดักปลาไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความฉิบหาย เพื่อความพินาศของปลาเป็นจำนวนมาก

เกสกัมพลสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 8. อัสสขลุงกสูตร

6. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา

[139] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3 ประการนี้
สัมปทา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3 ประการนี้แล

สัมปทาสูตรที่ 6 จบ

7. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ

[140] ภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ 3 ประการนี้
วุฑฒิ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศรัทธา)
2. สีลวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศีล)
3. ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย วุฒิ 3 ประการนี้แล

วุฑฒิสูตรที่ 7 จบ

8. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก

[141] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก 3 จำพวก และคนกระจอก 3
จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :387 }