เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 2. ปริสาสูตร

ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นสัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็น
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
พิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตัวตนของเรา” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุยิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุ
เกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์)” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกาย
ขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 3 ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

โยธาชีวสูตรที่ 1 จบ

2. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท

[135] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 3 จำพวกนี้
บริษัท 3 จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :384 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
4. โยธาชีววรรค 4. อุปปาทาสูตร

1. บริษัทที่แนะนำยาก 2. บริษัทที่แนะนำง่าย
3. บริษัทที่แนะนำแต่พอประมาณก็รู้ได้
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 3 จำพวกนี้แล

ปริสาสูตรที่ 2 จบ

3. มิตตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมิตรแท้

[136] ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ 3 ประการควรคบหาได้
องค์ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก 2. ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก
3. อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ 3 ประการนี้แลควรคบหาได้

มิตตสูตรที่ 3 จบ

4. อุปปาทาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต

[137] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความ
ตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุ
นั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิด
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่
อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ทุกข์” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา
ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

อุปปาทาสูตรที่ 4 จบ