เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 6. กฏุวิยสูตร

1. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว
2. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว
3. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม 3 ประการนี้แล
ก็จุติเสียแล้ว
หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความอิ่มในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(การฟังสัทธรรม) การบำรุงพระสงฆ์
จักมีในกาลไหน ๆ เป็นแน่แท้
หัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีล1อยู่
ยินดีแล้วในการฟังสัทธรรม
ยังไม่อิ่มธรรม 3 ประการ
ก็ไปพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว

หัตถกสูตรที่ 5 จบ

6. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่

[129] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต
กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน
สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น2 มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก3 หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 6. กฏุวิยสูตร

ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้ตรัสกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่
กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ”
ครั้นภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทนี้จากพระผู้มีพระภาคแล้วก็ถึงความสังเวช1 ลำดับ
นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จ
กลับจากเที่ยวบิณฑบาตได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ในเช้าวันนี้ เรานุ่ง
อันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต เรากำลังเที่ยว
บิณฑบาตในสำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มี
จิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัด
ตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้น” ครั้นเรากล่าวสอนด้วยโอวาทนี้แล้วภิกษุนั้นก็ถึง
ความสังเวช”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่คืออะไร กลิ่นดิบคืออะไร แมลงวัน
คืออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ ความมักใหญ่คืออภิชฌา กลิ่นดิบคือ
พยาบาท แมลงวันคือบาปอกุศลวิตก ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม
ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ
จักไต่ตอมบุคคลที่ไม่คุ้มครองในจักขุทวารและโสตทวาร
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน มีแต่ความคับแค้นเท่านั้น