เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 2. ภัณฑนสูตร

มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก(ความตรึกในทาง
พยาบาท)บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราไม่กล่าวว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ประมาทอยู่
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดี
หรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุเมื่อประสงค์ก็รับ
นิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้า
ไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือ
บุตรของคหบดีนั้นถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วย
มือตนเอง
ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวาย
อาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” และเธอไม่มีความ
คิดอย่างนี้ว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอไม่ติดใจ ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง ตรึกถึงอพยาบาทวิตก(ความตรึก
ปลอดจากพยาบาท)บ้าง ตรึกถึงอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
บ้าง ภิกษุทั้งหลายบิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่

กุสินารสูตรที่ 1 จบ

2. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง

[125] ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :371 }